เสาเข็มไมโครไพล์ คือ

เสาเข็มไมโครไพล์

ขั้นตอนการทำงานติดตั้งเข็มไมโครไพล์

เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นหนึ่งในเสาเข็มที่มีหลายคนสนใจอยากใช้บริการ ซึ่งการตอกนั้นจะเป็นลักษณะการใช้เครื่องไฮดรอลิกกดเสาลงไป และบทความนี้ทาง Maxspace ก็มีรายละเอียดขั้นตอนการตอกที่น่าสนใจมาให้ศึกษา เป็นอีกความรู้ที่ควรเข้าใจก่อนตัดสินใจใช้งาน ซึ่งลักษณะการตอกจะเป็นอย่างไร ไปติดตามกันเลยดีกว่า 

ขั้นตอนการทำงานติดตั้ง ในการใช้งานจริงของ เสาเข็มไมโครไพล์ ที่เรากำลังจะแนะนำต่อไปนี้ ต้องบอกว่าเป็นการติดตั้งด้วยระบบกด ที่ทำได้ง่ายมาก และไม่ทำให้เกิดดินเลอะเปื้อนพื้นที่ รวมถึงมีความรวดเร็วในการติดตั้งด้วย

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์การตอกก่อนใช้งานจริง

  • ช่างผู้เชี่ยวชาญต้องเดินทางมายังสถานที่จริงเพื่อตรวจสอบโครงสร้างและความแข็งแรงของพื้นที่ หรือดูลักษณะบ้าน พื้นที่ที่ต้องการต่อเติม ซึ่งจะเป็นลักษณะของการสำรวจ วิเคราะห์ดูความเสียหายพื้นที่ที่จะสร้าง จะต่อเติม และดูตำแหน่งการติดตั้ง จำนวน เข็มไมโครไพล์ ที่ใช้
  • ทำการปิดกั้นหน้างานที่จะนำผ้าใบมาทำเป็นอาณาเขตไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาดของพื้นที่ แบ่งเขตพื้นที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ดูเป็นสัดส่วนพร้อมจัดเก็บได้
  • ทำการขุดสกัดคอนกรีตให้ลงไปที่ฐานรากของโครงสร้าง เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งบ่ารับน้ำหนัก ซึ่งต้องมีการขุดหลุม 0.6 x 0.6 เมตร หลังจากที่ได้ตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็จัดการสกัดผิวคอนกรีตได้เลย ทำให้ผิวเรียบเนียนสัมผัสที่ราบเรียบทั้งบ่ารับน้ำหนัก ทั้งคอนกรีต
  • ติดตั้งบ่ารับน้ำหนักให้เข้ากับฐานรากของโครงสร้างโดยที่จะติดตั้งเสา และติดตั้งบ่ารับน้ำหนักโดยให้มีท่ออยู่ที่ 2 – 5 องศา ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นดินแข็ง โดยที่ท่อเสาเข็มความยาวมี 1 เมตร เชื่อมต่อแบบพิเศษ รองรับแรงดัดได้สูง ไม่ทำให้อายุการใช้งานโครงสร้างเหล็กลดลง โดยร้าน รับตอกเสาเข็มไมโครไพล์ จะคำนวณพื้นที่ก่อนติดตั้ง
  • ทำการติดตั้งเข็มไมโครไพล์ด้วยเครื่องชุดไฮดรอลิกโดยกดให้เข้ากับบ่ารับน้ำหนัก ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีแรงสั่นสะเทือน ก่อนที่จะปิดหลุม
    อย่าลืมที่จะตรวจรับกับผู้ว่าจ้างดูด้วยว่าได้ติดตั้งในค่าที่อ้างอิงไว้ไหม เพื่อเป็นการใช้ตรวจสอบระดับที่ตั้งโครงสร้างได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามการใช้งานเสาเข็ม แต่ละแท่งจะสัมพันธ์กับขนาดแต่จำนวนน้ำหนักที่รับได้ อย่าง เสาเข็มขนาด 18 ม. รับน้ำหนักได้ 22 ตันต่อต้น หรือเสาเข็มขนาด 22 ม. รับน้ำหนักได้ 28 ตันต่อต้น เป็นต้น เราจำเป็นต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง หรือต่อเติมด้วย ซึ่งตัวเสาที่เล็กกว่า 25 ซม. จึงเหมาะกับโครงสร้างขนาดเล็กตามต้องการ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือน เพิ่มความสะดวกสบายใจการเข้าถึงพื้นที่หน้างาน คุ้มค่ากับเงินที่เสียไปอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี การลงเข็มฐานรากด้วยเสาเข็มนั้น ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะมานำเสนอให้อีกในบทความต่อๆ ไปนะครับ^^,

ข้อดี ข้อเสีย ของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภทที่ควรรู้

ข้อดี – ข้อเสียของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละประเภทที่ควรรู้

เสาเข็มไมโครไพล์มีให้เราเลือกใช้งานหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มแบบตัวไอ, เสาเข็มแบบทรงสี่เหลี่ยม หรือเสาเข็มสปันไมโครไพล์ แน่นอนว่าแต่ละประเภทก็จะมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันออกไป การศึกษาอย่างละเอียดจะช่วยให้การเลือกใช้งานเหมาะสม ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง

เสาเข็มไมโครไพล์ เป็นเสาที่มีความโดดเด่นในการใช้งานมาก เพราะมีขนาดเล็ก ที่เข้าถึงการทำงานในที่แคบได้สบาย เสียงเบา การสั่นสะเทือนพื้นที่รอบข้างน้อย และจะใช้การกดด้วยระบบไฮดรอลิกจากการคำนวณของนักวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังต้องเชื่อมต่อเหล็กส่วนหัว และท้ายระหว่างท่อนด้วย กระนั้น แต่ละประเภทมีทั้งข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป

เสาเข็มไมโครไพล์

ประเภทของเสาเข็มไมโครไพล์

1. เสาเข็มแบบสี่เหลี่ยม (Square Micropile)

จะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมตัน โดยมีความยาวที่ 1.5 เมตร และมีขนาดหน้าตัดให้เลือกได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะกำหนด

  • ข้อดี : ผู้รับเหมาจะทำงานง่าย โดยใช้การเชื่อมต่อที่อยู่ในลักษณะสี่เหลี่ยม ที่สามารถวางให้เหลี่ยมตรงกันได้ไว
  • ข้อเสีย : อาจจะเกิดปัญหารอยร้าว หรือแตกได้เมื่อมีการตอกด้วยปั้นจั่นหัว และท้าย โดยเฉพาะคอนกรีตที่บ่มไม่ได้อายุแล้วนำมาใช้งาน

2. เสาเข็มไมโครไพล์แบบตัวไอ (I micropile)

จะมีหน้าตัดเป็นรูปตัวไอเลย โดยที่ความยาวจะเฉลี่ย 1.5 เมตร ขนาดหน้าตัดมีทั้ง 18 – 22 – 26 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับการกำหนดของผู้ผลิตเช่นกัน โดยที่จะมีเหล็กอยู่ภายในคอนกรีตที่หล่อพิเศษ

  • ข้อดี : ราคาถูกกว่าทุก ๆ ประเภท และถูกนิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะกดลงง่าย เชื่อมต่อง่าย
  • ข้อเสีย : แม้จะกดลงง่าย แต่ก็มีโอกาสที่จะเสียหายที่ทั้งหัว และท้ายได้ เพราะขนาดปีกเสาเข็มค่อนข้างเล็ก ทำให้การกดท่อนต่อไปไม่ตรงจุดศูนย์กลาง และเกิดปัญหาเบี้ยวได้

3. เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun micropile)

อีกประเภทเสาเข็มไมโครไพล์ที่จะมีวิธีการผลิตแตกต่างจากเสาอื่น ๆ เพราะจะใช้แรงเหวี่ยงทำให้คอนกรีตอัดตัว จึงเกิดรูตรงกลาง หน้าตัดเป็นวงกลม ความยาวเฉลี่ยแล้ว 1.5 เมตร มีหลายขนาด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะกำหนด และมีเหล็กอยู่ภายในด้วย

  • ข้อดี : น้ำหนักเบามาก กดลงไปแล้วรอยร้าวเกิดได้น้อย เพราะคอนกรีตอัดมาสูง เชื่อมต่อที่หัว หรือท้ายง่าย ได้ศูนย์กลางตรงตามต้องการ
  • ข้อเสีย : ราคาแพงมากที่สุด เพราะมีการผลิตที่ซับซ้อน และให้ต้นทุนสูง  

การเลือกประเภทของเสาเข็มไมโครไพล์ได้ตรงตามการใช้งานจะทำให้ปัญหาร้าวแตกหรือเชื่อมต่อไม่ได้จุดศูนย์กลางไม่เกิดขึ้นมาได้ง่ายๆทั้งนี้การติดตั้งเสาเข็มแบบไมโครไพล์เแนะนำว่าควรหาบริษัทรับเหมาที่มีประสบการณ์สูงการตอกได้มาตรฐานปลอดภัย

บทความที่คล้ายกัน

ยกระดับโรงจอดรถของคุณ: โซลูชั่นโพลีคาร์บอเนตเพื่อการปกป้องและความสวยงาม

โรงจอดรถของคุณเป็นมากกว่าสถานที่จอดรถ มันเป็นส่วนขยายที่มีค่าในพื้นที่อยู่อาศัยของคุณ ซึ่งอาจใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือ จักรยาน อุปกรณ์กีฬา หรือแม้แต่โร …

อ่านต่อ →

ยกระดับการใช้ชีวิตกลางแจ้งของคุณ: เคล็ดลับการออกแบบลานบ้านสำหรับการสังสรรค์ที่ง่ายดาย

เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่นทำให้เราใช้เวลานอกบ้านมากขึ้น จะมีวิธีใดที่จะรับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ได้ดีไปกว่าการสร้างลานบ้านที่ออกแบบอย่างสวยงาม? พื้น …

อ่านต่อ →

โซลูชั่นการปูพื้นที่ดีที่สุดสำหรับกรุงเทพฯ: เหตุใดพื้นไม้เทียมจึงเหนือกว่าพื้นไม้แบบดั้งเดิม

กรุงเทพฯ เมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวาและทัศนียภาพที่งดงาม ทำให้การใช้ชีวิตกลางแจ้งเป็นสิ่งที่น่าสนุกและเพลิดเพลิน แต่สภาพอากาศเขตร้อนที่มี …

อ่านต่อ →